ความหมายของจำนวนตรรกยะ

จำนวนตรรกยะ คือ จำนวนที่เขียนแทนได้ด้วยทศนิยมซ้ำ หรือเศษส่วน \(\frac{a}{b}\)  เมื่อ

\(a\)  และ \(b\)  เป็นจำนวนเต็ม และ \(b\neq 0\)

ตัวอย่างของจำนวนตรรกยะ

1.  \(0\)  เป็นจำนวนตรรกยะ เพราะ  \(0\)  สามารถเขียนแทนได้ด้วย  \(\frac{0}{1}\)

2.  \(5\)  เป็นจำนวนตรรกยะ เพราะ \(5\)  สามารถเขียนแทนได้ด้วย  \(\frac{5}{1}\)

3.  \(-10\)  เป็นจำนวนตรรกยะ เพราะ  \(-10\)  สามารถเขียนแทนได้ด้วย  \(-\frac{10}{1}\)

สรุปก็คือ จำนวนเต็ม(integers) ทั้งจำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ จำนวนเต็มศูนย์ เป็นจำนวนตรรกยะทั้งหมดครับ
4.\(2\frac{1}{5}\) เป็นจำนวนตรรกยะ เพราะ \(2\frac{1}{5}\) เขียนแทนได้ด้วย \(\frac{11}{5}\)
5. \(\frac{3.2}{1.3}\)  เป็นจำนวนตรรกยะ เพราะ \(\frac{3.2}{1.3}\) \(=\)  \(\frac{3.2  \times  10}{1.3  \times  10}\)  \(=\frac{32}{33}\)  ดังนั้น \(\frac{3.2}{1.3} \)  เขียนแทนได้ด้วย  \(\frac{32}{33}\)
6.  \( -4.6 \times 0.7 \)  เป็นจำนวนตรรกยะ เพราะ   \( -4.6 \times 0.7 \)  \(=\) \(-3.22\)  หรือ  \(\frac{-322}{100}\)
7.  \(- \frac{3}{5} \div 6 \)  เป็นจำนวนตรรกยะ เพราะ \(- \frac{3}{5} \div 6\)  \(=\) \(-\frac{3}{5} \times \frac{1}{6}\) \(=\) \(-\frac{3}{30}\)
พวกทศนิยมซ้ำก็เป็นจำนวนตรรกยะนะครับ เพราะสามารถเขียนให้อยู่รูปเศษส่วนได้ ไปอ่านตามลิงค์นี้ได้ครับ
อันนี้เป็นตัวอย่างของจำนวนตรรกยะน่ะครับ เรื่องจำนวนตรรกยะนี้ไม่ยากครับ ที่สำคัญ เราต้องเข้าใจนิยามของจำนวนตรรกยะว่ามันคือ อะไร concept มีแค่นี้ครับ