คัมภีร์รบโบราณ ซุนวู  ซึ่งเป็นคัมภีร์รบที่โด่งดัง ซึ่งเขียนด้วยปราชญ์ชาวจีนที่ชื่อว่า ซุนวู ซึ่งเป็นคัมภีร์ที่ว่าด้วยเรื่องของการรบ วิธีการในการรบให้ได้เปรียบแล้วเอาชนะคู่ต่อสู้  มีคำกล่าวคำหนึ่งที่สำคัญซึ่งมาจากคัมภีร์นี้ก็คือ รู้เขารู้เรา รบร้อยครั้งชนะร้อยครั้ง ในคัมภีร์ซุนวูนอกจากจะให้ความรู้ในเรื่องของการรบแล้ว ยังให้ความรู้เกี่ยวกับการมองคนและการใช้งานคน   ซึ่งในคัมภีร์ซุนวู จำแนกคนออกเป็น 4 ประเภท ในแต่ละประเภทก็จะนำไปเป็นนายทหารในตำแหน่งที่แตกต่างกัน

ประเภทที่ 1  พวกที่ทั้งขยันทั้งฉลาด  คนพวกนี้นอกจากจะขยันแล้วไหวพริบสติปัญญาความคิดยังเฉียบคมว่องไว มีความกล้าหาญอย่างชาญฉลาด คนประเภทนี้เหมาะกับการ เป็นทหารแม่ทัพ เพราะการเป็นแม่ทัพ คุณจะเก่งกาจในการรบอย่างเดียวไม่ได้ต้อง มีความฉลาดในการรบด้วย

ประเภทที่ 2  พวกที่ฉลาดแต่ขี้เกียจ  คนพวกนี้เป็นพวกที่สมองปัญญาดี แต่ติดขี้เกียจ ชอบคิดแต่ไม่ลงมือทำไม่ชอบออกแรง พวกดีแต่คิดและชี้นิ้วสั่ง คนประเภทนี้ เหมาะแก่การเป็นหัวสมองให้กองทัพ ก็คือพวกเสนาบดี วางแผนในการรบ การออกศึก ตลอดจากวางแผนคิดกลยุทธ กลศึกในการรบ ซึ่งเรื่องราวของสามก๊ก จะเห็นว่ามีเสนาบดี กุนซือที่เก่งกาจ คือ  โจกัดเหลียง(ขงเบ้ง)  สุมาอี้  เป็นต้น

ประเภทที่ 3 พวกที่ทั้งโง่และขี้เกียจ   คนพวกนี้หาที่ดีไม่ได้นอกจากจะไม่ฉลาดแล้วยังขี้เกียจอีก คนพวกนี้ให้เอาไปเป็นทหารที่เป็นนายกอง  เป็นหัวหน้านายกองเล็กๆ 

ประเภทที่ 4  พวกโง่แต่ขยัน  ตามคัมภีร์บอกว่าคนพวกนี้เป็นบุคคลที่อันตรายมากสำหรับทางการทหาร เพราะพวกนี้โง่แต่ขยันทำงาน ถ้าแต่งตั้งให้เป็นพวกหัวหน้านายกอง อาจจะโดนกลศึกศัตรูหลอกหลวงได้เพราะโง่เขลา ซึ่งอาจจะทำให้เป็นผลเสียแก่กองทัพได้  ฉนั้นคนพวกนี้เป็นได้แค่ทหารชั้นเลวชั้นล่าง คอยวิ่งติดตามรถม้าในกองทัพ

เป็นอย่างไรบ้างคับศาสตร์การแบ่งหรือว่าการมองคนเพื่อนำไปใช้ ของคัมภีร์รบ ซุนวู ซึ่งแบ่งออกเป็น 4 ประเภทคล้ายๆกับที่ พระพุทธเจ้าแบ่งเหล่าเวยไนยสัตว์ ออกเป็น 4 ประเภท แต่ซุนวู จะมองในแง่ทางการทหาร แต่พระพุทธเจ้ามองในแง่ของการเรียนรู้  ซึ่งถ้าศึกษาประวัติศาสตร์จะเห็นว่า ซุนวู มีชีวิตในช่วงที่พระพุทธเจ้าดำรงธาตุขันธ์อยู่ ซึ่งยุคนี้เต็มไปด้วยนักปราชญ์นักคิดมากมาย