เรื่องลำดับเรขาคณิต เป็นเรื่องที่จะได้เรียนในชั้นม้ธยมศึกษาปีที่ 5 สิ่งที่จะต้องรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้หลักๆที่

สำคัญเลยคือ

  1. นิยามของลำดับเรขาคณิต ว่าลำดับเรขาคณิตนั้นมีลักษณะเป็นอย่างไร มีคุณสมบัติอย่างไรถึงจะเป็นลำดับเรขาคณิตได้
  2. พจน์ทั่วไปของลำดับเรขาคณิต หรือ \(a_{n}\) อันนี้เป็นสิ่งที่สำคัญมากไม่ว่าจะเป็นลำดับเลขคณิตหรือลำดับเรขาคณิต จำเป็นต้องจำและเข้าใจพจน์ทั่วไปให้ได้

สองสิ่งนี้แหล่ะเป็นสิ่งที่จำเป็นต้องรู้  ต่อไปก็ทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมเยอะๆคับ

นิยามของลำดับเรขาคณิต

ให้ \(a_{1},a_{2},a_{3},...a_{n},...\) เป็นลำดับ จะอธิบายเป็นภาษาแบบภาษาพูดบ้านๆน่ะ ถ้าใช้ภาษาคณิตทางการมากไปเดี๋ยวงง

ลำดับที่ผมกำหนดขึ้นมากข้างต้น มันจะเป็นลำดับเรขาคณิต ก็ต่อเมื่อ   \(\frac{a_2}{a_1}=\frac{a_3}{a_2}=\frac{a_4}{a_3}=...=\frac{a_{n+1}}{a_n}\)

ก็คือจับพจน์ที่อยู่ข้างหลังหารด้วยพจน์ที่อยู่ติดกันข้างหน้าจะแล้วได้ค่าเท่ากันตลอดลำดับนั้นจะเป็นลำดับเรขาคณิต

ตัวอย่างเช่น

5,10,20,40,80,160,...

ลำดับนี้เป็นลำดับเรขาคณิต เพราะว่า

\(\frac{10}{5}=2\)

\(\frac{20}{10}=2\)

\(\frac{40}{20}=2\)

\(\frac{80}{40}=2\)

\(\frac{160}{80}=2\)

จะเห็นว่าจับพจน์ที่อยู่ข้างหลังหารด้วยพจน์ที่อยู่ติดกันข้างหน้าจะแล้วได้ค่าเท่ากันตลอดคือ 2 เรียกลำดับแบบนี้ว่า ลำดับเรขาคณิต

จากตัวอย่างผลหารที่หารออกมาคือ 2 เจ้าเลขสองนี้เขาเรียกว่า อัตราส่วนร่วม(common ratio)

ซึ่งแทนด้วยค่า r

ดังนั้น เราสามารถค่า r  ได้โดยเอาพจน์ที่อยู่ข้างหลังหารด้วยพจน์ที่อยู่ข้างหน้าติดกัน หรือถ้าเขียนให้เป็นภาษาคณิตศาสตร์คือ

\(r=\frac{a_{n+1}}{a_n}\)


1.  5,15,45,... จงหาพจน์ทั่วไป

วิธีทำ จากลำดับที่กำหนดให้เราจะเห็นว่าเป็นลำดับเรขาคณิตและมี

\(r=\frac{15}{5}=3\)

เนื่องจากลำดับนีัเป็นลำดับเรขาคณิต ดังนั้น

\(a_{n}=a_{1}r^{n-1}\) แทนค่า r และ \(a_{1}\)  ลงไปเลยครับ

\(a_{n}=5(3)^{n-1} \)


2.  \( 1,-\frac{1}{2},\frac{1}{4},-\frac{1}{8},...\)

วิธีทำ จากลำดับที่กำหนดให้เป็นลำดับเรขาคณิต

\(r=\frac{-\frac{1}{2}}{1}=-\frac{1}{2}\)

เนื่องจากลำดับที่กำหนดให้เป็นลำดับเรขาคณิต ดังนั้น

\(a_{n}=a_{1}r^{n-1}\) แทนค่า r และ \(a_{1}\)   ลงไป

\(a_{n}=1(-\frac{1}{2})^{n-1}\)

\(a_{n}=(-\frac{1}{2})^{n-1}\)


3.  กำหนดลำดับ 162,-54,18,... จงหาค่าของ \(a_{7}\)

วิธีทำ เนื่องจากลำดับที่กำหนดให้เป็นลำดับเรขาคณิต

ดังนั้น \(r=-\frac{18}{54}=-\frac{1}{3}\)

พจน์ทั่วไปของลำดับเรขาคณิตคือ

\(a_{n}=a_{1}r^{n-1}\) แทนค่า r และ \(a_{1}\)  ลงไป

\(a_{n}=162(-\frac{1}{3})^{n-1}\)

ดังนั้น

\(a_{7}=162(-\frac{1}{3}^{7-1})\)

\(a_{7}=162(-\frac{1}{3}^{6})\)

\(a_{7}=162(\frac{1}{729})\)

\(a_{7}=\frac{162}{729}\)

\(a_{7}=\frac{2}{9}\)   Ans


4.  243 เป็นลำดับที่เท่าไรของลำดับ \(1,\sqrt{3},3,...\)

วิธีทำ เนื่องจากลำดับที่กำหนดให้เป็นลำดับเรขาคณิต

โดยที่ \(r=\frac{\sqrt{3}}{1}=\sqrt{3}\)

\(a_{1}=1\)

พจน์ทั่วไปของลำดับเรขาคณิตคือ \(a_{n}=a_{1}r^{n-1}\) 

แทนค่า r และ \(a_{1}\)   ลงไปในพจน์ทั่วไปเลยครับ จะได้

\(a_{n}=1(\sqrt{3})^{n-1}\)

เขาถามว่า 243 เป็นพจน์ที่เท่าไรของลำดับนี้ ดังนั้น จะได้

\(243=1(\sqrt{3})^{n-1}\)

\(3^{5}=3^{\frac{1}{2}\times (n-1)}\)    รากที่สองของสามคือ สามกำลังหนึ่งส่วนสอง

\(3^{5}=3^{\frac{n-1}{2}}\)     อย่าลืมนะ 243 เท่ากับ สามยกกำลังห้า

ฐานเท่ากันแล้วคือ 3 ดังนั้นจะได้เลขชี้กำลังเท่ากันคือ

\(5=\frac{n-1}{2}\)

\(5\times 2=n-1\)

\(10+1=n\)

\(n=11\)   Ans  243 เป็นพจน์ที่ 11 ของลำดับนี้ 


5. จงหาว่าลำดับ \(5,5\sqrt{2},10,...,40\)   มีจำนวนกี่พจน์

วิธีทำ ข้อนี้ไม่ยาก ข้อสอบในห้องเรียนชอบถามเพราะเป็นการทดสอบความเข้าใจพื้นฐานของความรู้เรื่องลำดับเรขาคณิต

แน่นอนคับลำดับนี้เป็นลำดับเรคณิต โดยมี \(r=\frac{5\sqrt{2}}{5}=\sqrt{2}\)  และ  \(a_{1}=5\)

พจน์ทั่วไปของลำดับเรขาคณิตคือ \(a_{n}=a_{1}r^{n-1}\)

ข้อนี้เขาต้องการรู้ว่าลำดับมีกี่พจน์ เราก็ต้องไปหาว่า 40 ซึ่งเป็นพจน์สุดท้ายของลำดับนี้เป็นพจน์ที่เท่าไร ก็คือ แทน \(a_{n}=40\)   ลงไปในพจน์ทั่วไป จะได้

\(40=5\sqrt{2}^{(n-1)}\)

\(\frac{40}{5}=\sqrt{2}^{(n-1)}\)

\(8=2^{\frac{1}{2}(n-1)}\)   รูทสองมีค่าเท่ากับสองยกกำลังหนึ่งส่วนสอง

\(2^{3}=2^{\frac{1}{2}(n-1)}\)

ดังนั้นจะได้

\(3=\frac{1}{2}(n-1)\)

\(3\times 2=n-1\)

\(6=n-1\)

\(6+1=n\)

\(n=7\)

 Ans ดังนั้น 40 เป็นพจน์ที่ 7 ของลำดับนี้และเป็นพจน์สุดท้ายด้วยดังนั้นลำดับนี้มี 7 พจน์นั่นเอง


6. ลำดับเรขาคณิตชุดหนึ่ง มีผลบวกและผลคูณของสามพจน์แรกเท่ากับ 6 และ -64 ตามลำดับ จงหาสามพจน์แรกของลำดับนีั

วิธีทำ การทำข้อนี้เราต้องกำหนดพจน์สามพจน์ขึ้นมาก่อนตามที่โจทย์บอกมา

ซึ่งถ้าให้พจน์แรกคือ a  พจน์ที่สองต้องเป็น ar และพจน์ที่สามต้องเป็น  \(ar^{2}\)

เพราะลำดับเรขาคณิต พจน์ที่สองเกิดจากการเอาพจน์แรกคูณกับค่าอัตราส่วนร่วมซึ่งก็คือค่า r นั่นเอง

พจน์ที่สาม เกิดจากการเอาพจน์ที่สองคูณกับค่า r เหมือนกัน ดังเราจะได้สามพจน์แรกของลำดับในข้อนี้คือ

\(a,ar,ar^{2}\)   ทำตามในเงื่อนไขที่โจทย์บอกก่อนคือ

\(a+ar+ar^{2}=6\)   สามพจณ์แรกบวกกันเท่ากับ 6

\(a(1+r+r^{2})=6\)   ให้เป็นสมการที่ 1 ดึงตัวร่วมออกคือ a  ถึงตรงนี้เก็บไว้ก่อนไปดูต่อในเงื่อนไขที่สอง

ที่บอกว่าสามพจน์คูณกันได้ -64 ดังนั้นจะได้

\(a\times ar \times ar^{2}=-64\)   คูณกันต่อจะได้

\(a^{3}r^{3}=-64\)

\((ar)^{3}=(-4)^{3}\)

ดังนั้นเราจะได้

\(ar=-4\)

\(a=-\frac{4}{r}\)   ให้เป็นสมการที่ 2 เอาค่า a ที่ได้นี้ไปแทนในสมการที่ 1  เลยนะจะได้

\(-\frac{4}{r}(1+r+r^{2})=6\)   บรรทัดต่อไปเอา r คูณเข้าทั้งสองข้างของสมการจะได้

\(r\times -\frac{4}{r}(1+r+r^{2})=6\times r \)

\(-4(1+r+r^{2})=6r\)

\(-4-4r-4r^{2}=6r\)

\(-4r^{2}-4r-4-6r=0\)

\(-4r^{2}-10r-4=0\)   เอาลบหนึ่งคูณเข้า

\(4r^{2}+10r+4=0\)   เอาสองหารตลอดได้

\(2r^{2}+5r+2=0\)

\((2r+1)(r+2)=0\)

จะได้

\(r=-2 ,r=-\frac{1}{2}\)

จะเห็นว่าตอนนี้เราได้ค่า r แล้ว นำค่า r นี้ไปแทนค่าในสมการที่ 2  จะได้

เมื่อ r=-2 จะได้ค่า a  คือ

\(a=-\frac{4}{-2}=2\)

\(a=2\)

เมื่อ  \(r=-\frac{1}{2}\)  จะได้  a  คือ

\(a=\frac{-4}{-\frac{1}{2}}\)

\(a=-4\times -2\)

\(a=8\)

ข้อนี้โจทย์ถามหาสามพจน์แรกของลำดับ ต้องแบ่งตอบเป็น 2 กรณีเนื่องจาก มี r สองค่า

กรณีที่ 1 เมื่อ r=-2 จะได้ a=2 ดังนั้นลำดับที่ได้คือ

\(a,ar,ar^{2}\)

\(2,(2)(-2),2(-2)^{2}\)

\(2,-4,8\)

กรณีที่ 2  เมื่อ \(r=-\frac{1}{2}\)  จะได้ a=8  ดังนั้นลำดับที่ได้คือ

\(8,-4,2\)

เสร็จแล้วครับข้อนี้ข้อสอบออกแบบนี้เยอะ  ส่วนมาเป็นข้อเขียนด้วย


7. เด็ก 3  คนมีอายุ 1 ,5 และ 13 ปี จงหาว่าอีกกี่ปีอายุของเด็กทั้งสามจึงจะเรียงกันเป็นลำดับเรขาคณิต

วิธีทำ  สมมติให้เวลาผ่านไป x ปีแล้วทำให้อายุของเด็กสามคนนี้เรียงกันเป็นลำดับเรขาคณิต ดังนั้นเราจะได้อายุเมื่อผ่านไป x ปีของเด็กแต่ละคนคือ

\(1+x,5+x,13+x\)

ลำดับนี้เป็นลำดับเรขาคณิตดังนั้นเราจะได้

\begin{array}{lcl}\frac{5+x}{1+x}&=&\frac{13+x}{5+x}\\(5+x)(5+x)&=&(13+x)(1+x)\\x^{2}+10x+25&=&x^{2}+14x+13\\4x-12&=&0\\x&=&\frac{12}{4}\\x&=&3\end{array}

Ans อีกสามปีอายุของเด็กทั้งสามจะเรียงกันเป็นลำดับเรขาคณิต


8. จงหาอัตราส่วนร่วมของลำดับเรขาคณิตที่มี  \(a_{3}=12\) และ \(a_{6}=96\)

วิธีทำ ข้อนี้เราจะทำแบบวิธีการง่ายๆนะคับคือจากโจทย์เราจะได้แบบนี้

\(12,a,b,96\) เราให้ลำดับเรขาคณิตนี้มีอัตราส่วนร่วมเท่ากับ \(r\) ดังนั้นเราจะได้ว่า \(12r^{3}=96\) แก้สมการหาค่า \(r\) เลยคับจะได้

\begin{array}{lcl}12r^{3}&=&96\\r^{3}&=&\frac{96}{12}\\r^{3}&=&8\\r^{3}&=&2^{3}\\so\\r&=&2\quad\underline{Ans}\end{array}


9. จงหาว่า 162 เป็นพจน์ที่เท่าใดของลำดับเรขาคณิต \(2,-6,18,\cdots \)

วิธีทำ ข้อนี้ผมจะใช้สูตรในการหานะคับ ส่วนถ้าใครไม่อยากใช้สูตรก็คูณ \(-3\) ไปเรื่อยๆจนกว่าจะเจอ \(162\) คับ เริ่มเลย

\begin{array}{lcl}a_{n}&=&a_{1}r^{n-1}\\a_{n}&=&2(-3)^{n-1}\\162&=&2(-3)^{n-1}\\\frac{162}{2}&=&(-3)^{n-1}\\81&=&(-3)^{n-1}\\(-3)^{4}&=&(-3)^{n-1}\\so\\n-1&=&4\\n&=&5\end{array}

นั่นคือ \(162\) เป็นพจน์ที่ \(5\) ของลำดับนี้ 


10. จงหาว่าลำดับ \(5,5\sqrt{2},10,\cdots ,40\) มีกี่พจน์

วิธีทำ  ข้อนี้ \(r=\frac{5\sqrt{2}}{5}=\sqrt{2}\)  เริ่มทำต่อเลยคับ

\begin{array}{lcl}a_{n}&=&a_{1}r^{n-1}\\a_{n}&=&5(\sqrt{2})^{n-1}\\40&=&5(\sqrt{2})^{n-1}\\\frac{40}{5}&=&(\sqrt{2})^{n-1}\\8&=&(\sqrt{2})^{n-1}\\2^{3}&=&2^{\frac{n-1}{2}}\\so\\\frac{n-1}{2}&=&3\\n-1&=&6\\n&=&7\end{array}

นั่นคือ ลำดับนี้มีทั้งหมด 7 พจน์


11. พจน์ที่ 16 ของลำดับเรขาคณิต \(\frac{1}{625},\frac{1}{125\sqrt{5}},\frac{1}{125},\cdots \) เท่ากับเท่าใด

วิธีทำ  ข้อนี้ \(r=\frac{1}{125}\times 125\sqrt{5}=\sqrt{5}\) เริ่มทำต่อ

\begin{array}{lcl}a_{n}&=&a_{1}r^{n-1}\\a_{n}&=&\frac{1}{625}(\sqrt{5})^{n-1}\\a_{16}&=&\frac{1}{625}(\sqrt{5})^{16-1}\\a_{16}&=&\frac{1}{5^{4}}(\sqrt{5})^{15}\\a_{16}&=&\frac{1}{5^{4}}(5^{\frac{15}{2}})\\a_{16}&=&5^{\frac{15}{2}-4}\\a_{16}&=&5^{\frac{7}{2}}\\a_{16}&=&(\sqrt{5})^{7}\\a_{16}&=&125\sqrt{5}\end{array}

อธิบายมาถึงตรงนี้ไม่รู้ว่าเข้าใจกันหรือเปล่า แต่ก็พยายามเขียนเต็มที่แล้ว เมื่อรู้จักนิยามของลำดับเรขาคณิตแล้ว ต่อไป ก็คือหาพจน์ที่ทั่วของลำดับเรขาคณิตกัน คับ  เป็นไฟล์วีดีโอแล้วกันขี้เกียจพิมพ์แล้ว